ภาษาใต้

มาตรฐาน

ภาษาใต้ แบ่งแยกออกเป็น กลุ่มๆ ดังนี้

– ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)

– ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ (สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้)

– ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา

– ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น

ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

คำขวัญ

มาตรฐาน
จังหวัดกระบี่
  • กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
จังหวัดชุมพร
จังหวัดตรัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี
จังหวัดพังงา
จังหวัดพัทลุง
จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดยะลา
  • ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน
จังหวัดระนอง
จังหวัดสงขลา
จังหวัดสตูล
  • สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ตราประจำจังหวัด

มาตรฐาน

จังหวัดชุมพร

ภาพคนยืน หมายถึง เทวดาที่ประทานพรให้แก่ชาวเมือง และกองทัพที่จะยกออกไปทำศึก

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดระนอง
ตราประจำจังหวัดระนองมีความหมายดังนี้
เลข 5 หมายถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปราสาท หมายถึง พระที่นั่งรัตนรังสรรค์
ภูเขา หมายถึง ภูเขานิเวศน์คีรี
พานแว่นฟ้า หมายถึง ชาวจังหวัดระนอง

จังหวัดสุราษฏฐานีหมายถึง พระบรมธาตุไชยา กล่าวกันว่า พระบรมธาตุไชยา เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดของจังหวัด เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวจังหวัด สุราษฎร์ธานี และนักท่องเที่ยว รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่มาเยี่ยมชม
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้อักษรย่อว่า
“สฎ”

จังหวัดกระบี่ความหมาย:
      กระบี่ไขว้ หมายถึง ดาบโบราณซึ่งครั้ง หนึ่ง มีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด
      ภูเขา  คือ เทือกเขาพนมเบญจาที่สูงสุดใน แถบนั้นมีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น
      ทะเล  คือ ชายอาณาเขตอีกด้านหนึ่งซึ่งติด  ต่อกับมหาสมุทรอินเดีย

ตราประจำจังหวัดสตูล   ความหมาย:                
     รูปพระสมุทรเทวาสถิตอยู่บนแท่นหินกลางทะเลเบื้องหลังมีรัศมีพระอาทิตย์อัสดง พระสมุทรเทวาคือ เทวดาผู้ปกป้องรักษามหาสมุทร บัลลังค์หิน คือ วิมารของเทวดา พระอาทิตย์อัสดง คือ ฝั่งทะเลตะวันตก หรือมหาสมุทรอินเดียนั่นเอง

ตราประจำจังหวัดสงขลาความหมาย:
   –  หมายถึง รูปหอยสังข์ซึ่งยังค้นหาหลักฐานของความหมายได้ไม่แน่ชัด แต่บุคคลบางคนบอกที่มาของตราประจำจังหวัดนี้ว่า เดิมเคยเป็นตรากระดุมเสื้อฉลองพระองค์ ของกรมหลวงสงขลานครินทร์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุยเดชวิกรมบรมชนกนาถ ต่อมากรมศิลปากรออกแบบตราสังข์ ใช้เป็นเครื่องหมายตราจังหวัดสงขลา

ตราประจำจังหวัดยะลาีความหมาย:
  –  หมายถึง พื้นที่ของจังหวัดยะลาอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุก และอาชีพหลักของประชาชนในอดีต คือ การทำเหมืองแร่ดีบุก

ตราประจำจังหวัดภูเก็ต  สตรีทั้งสองท่านทีปรากฏอยู่ในดวงตราประจำจังหวัดภูเก็ตคือ ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร สองพี่น้องผู้สร้างวีรกรรมเป็นผู้นำในการรักษาเมืองถลางให้พ้นภัยจากพม่าในปี พ.ศ.2328 ตรงกับช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
   ศึกครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “สงครามเก้าทัพ” พม่ายกกองทัพเข้ามารุกรานไทยทางหัวเมืองตะวันตกแถบเมืองกาญจนบุรีและหัวเมืองชายฝั่งทะเลของไทยเป็นจำนวนถึง 9 ทัพด้วยกัน    เมืองถลางซึ่งเป็นหัวเมืองชายฝั่งทะเลด้านใต้ก็ถูกเข้าตีเช่นกัน เมืองถลางตกอยู่ในภาวะคับขันเพราะเจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรมพอดี ทำให้ขาดผู้นำทัพ ท่านผู้หญิงจันผู้เป็นภริยาของท่านเจ้าเมืองและคุณมุกผู้เป็นน้องสาวจึงร่วมคิดวางแผนเพื่อต่อสู้กับพม่าด้วยวิธีต่างๆ ทำให้กองทัพพม่าไม่สามารถตีทัพเมืองถลางได้ พม่าตั้งล้อมเมืองถลางอยู่เป็นเดือนจนในที่สุดกองทัพพม่าขาดเสบียงอาหารจึงต้องถอยทัพกลับไป
     ด้วยคุณงามความดีของสตรีสองพี่น้องในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้พระราชทานอิสริยยศให้ท่านผู้หญิงจันเป็น “ท้าวเทพกระษัตรี” และคุณมุกน้องสาว เป็น “ท้าวศรีสุนทร” ชาวเมืองภูเก็ตให้ความศรัทธา และถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการต่อสู้เพื่อบ้านเมืองจึงนำรูปของท่านทั้งสองมาเป็นสัญลักษณ์ในตราประจำจังหวัดภูเก็ตดังที่เห็นในปัจจุบัน

ตราประจำจังหวัดพัทลุง

ความหมาย:
     –   หมายถึง จังหวัดพัทลุง ได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาแล้ว 12 ครั้ง ครั้งสุดท้ายในปี พุทธศักราช 2467 ย้ายจากตำบลลำปำมาอยู่ที่ตำบลคูหาสวรรค์ ใกล้กับภูเขาอกทะลุซึ่งสูงเด่นอยู่บนที่ราบ มองเห็นจากที่ไกลได้ทุกทิศ บนยอดเขามีเจดีย์เก่าสร้างเอาไว้องค์หนึ่งซึ่งในปัจจุบันนี้ยังเหลือฐาน ตั้งแต่นั้นชาวพัทลุงก็ไม่ต้องระเหเร่ร่อนอีกต่อไป ชาวเมืองจึงถือเอาภูเขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ และ หลักเมืองของจังหวัด

ตราประจำจังหวัดพังงาความหมาย;
   –  รูปเขาช้าง   หมายถึง สัญลักษณ์ภูเขาสูงรูปช้าง ซึ่งอยู่หลังศาลากลางจังหวัดพังงา ประวัติศาสตร์กล่าวว่าในพ.ศ. 2532  พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายใต้ (ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถลาง)ราษฎรบางส่วนที่ไม่มีอาวุธ และกำลังจะต่อสู้ต้องอพยพไปหลบภัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำพังงา ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ และตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงนั้นตลอดมา
   –  รูปเรือขุดแร่  หมายถึง สัญลักษณ์การประกอบอาชีพในอดีตของจังหวัดพังงาที่มีอาชีพหลักทางด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก สามารถผลิตแร่ดีบุกได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศและเป็นที่ยอมรับกันว่า ในอดีตนั้นเศรษฐกิจและอาชีพของจังหวัดพังงาขึ้นอยู่กับแร่เป็นสำคัญ
   –  รูปเขาตะปู  หมายถึง  สัญลักษณ์ทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา        

ตราประจำจังหวัดปัตตานีความหมาย:
–  หมายถึง ปืนนางพญาตานี ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (ขนาดยาว 3 วา ศอกคืบนิ้วครึ่ง กระสุน 11 นิ้ว) ซึ่งเป็นปืนใหญ่กระบอกสำคัญที่ใช้ป้องกันเมืองปัตตานีตลอดมา ชาวเมืองจึงถือว่าเป็นคู่บ้านคู่เมืองมาแต่สมัยโบราณ

ตราประจำจังหวัดนราธิวาสความหมาย:
    –  รูปเรือใบเต็มลำแล่นกางใบ หมายถึง สัญลักษ์ของจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล มีการค้าขาย การประมง และการติดต่อกับเพื่อนบ้านใกล้เคียง ในเรือมีรูปช้างเผือกประดับเครื่องคชาภรณ์อยู่ในวงกลม หมายถึง ช้างสำคัญคู่บุญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า “พระศรีนรารัฐราชกิริณี

ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

ความหมาย:
   –  พระบรมธาตุเปล่งรัศมี ล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรหมายถึง แคว้นศริธิธรรม นครโบราณซึ่งมีเมืองขึ้น12 แห่ง แต่ละแห่งใช้ตรา 12 ราศี ประจำเมือง

ตราประจำจังหวัดตรัง  ความหมาย:
    –  ภาพสะพานกระโจมไฟหมายถึง: จังหวัด
       ตรังเคยเป็นเมืองท่าทำการค้าขายกับต่างประเทศ
    –  ภาพลูกคลื่น: หมายถึง: ลักษณะพื้นที่ของ
       จังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูงๆ ต่ำๆ คล้ายลูกคลื่น

 

โบราณสถาน

มาตรฐาน
สถานที่ตั้ง โบราณสถานบ้านพระยาวิชิตสงคราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตประวัติความเป็นมา
มูลเหตุของการสร้างบ้านของพระยาวิชิตสงคราม อันเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ พวกกุลีจีนทำเหมืองแร่ก่อความวุ่นวายขึ้นที่บ้านกระทู้ เกิดการปะทะกับพวกกุลีจีนต่างก๊ก ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์จากเหมืองแร่ มีการยกพักพวกเข้าตีกันจนเกิดความวุ่นวายขึ้น พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) เห็นว่าน่าจะไม่ปลอดภัย จึงได้สร้างบ้านขึ้นใหม่ ที่บริเวณบ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร ซึ่งสถานที่เดิมเคยเป็นบ้านของปู่ คือ พระยาถลาง (เจ๊ะมะเจิม) และเมื่อสร้างเสร็จแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๒๐ พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) ก็ได้ย้ายเข้าอยู่ ทั้งยังใช้สถานที่เป็นที่ทำการของเมืองภูเก็ตอีกด้วย

ลักษณะทั่วไป
บริเวณขอบเขตภายนอกสร้างเป็นแนวกำแพงอิฐล้อมรอบ มีขนาดกว้าง ๑๒๔ เมตร ความยาว ๑๕๗ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร ความหนาของกำแพง ๖๐ เซนติเมตร ด้านบนสุดของกำแพงทำเป็นรูปใบเสมาเว้นช่องต่อช่วงห่างกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ส่วนสูงของใบเสมา ๕๐ เซนติเมตร ตลอดแนวกำแพงภายนอกระหว่างกึ่งกลางของแต่ละด้านมีป้อมยามรักษาการโดยมีประตูทางเข้าป้อมอยู่ภายใน ส่วนด้านในกำแพงแต่ละมุมสร้างเป็นที่พักของทหารยาม คนรับใช้และเป็นที่เก็บของ ส่วนอาคารที่ทำการสร้างตรงกับแนวประตูทางเข้าอยู่ลึกเข้าไปประมาณ ๖๕ เมตร สร้างเป็นอาคารสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ฐานอาคารสูงจากพื้นดินประมาณ ๑.๕๐ เมตร ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานของตัวอาคารให้เห็น ตรงด้านหลังของ
อาคารห่างออกไปประมาณ ๓๓ เมตร มีสระน้ำขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ด้านข้างของสระน้ำทั้งสองด้านทำทางระบายน้ำล้นไหลผ่านเข้า-ออก โดยทำประตูระบายน้ำไว้ที่แนวกำแพง ส่วนตัวบ้านนั้นสร้างไว้ใกล้กับบริเวณสระน้ำ โดยตัวบ้านสร้างเป็นเรือนไม้ ส่วนรูปทรงของบ้าน สันนิษฐานว่าคงเป็นแบบบ้านไทยมุสลิม เนื่องจากต้นตระกูลของพระยาวิชิตสงคราม เป็นแขกอินเดีย ปัจจุบันไม่เห็นซากของตัวบ้านแล้ว กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ บ้านพระยาวิชิตสงคราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๒๘ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๒๘ หน้า ๔๔๙๒ พื้นที่ประมาณ ๒๓ ไร่ ๑ งาน ๑๔ ตารางวา

หลักฐานที่พบ
โบราณสถานบ้านพระยาวิชิตสงคราม ยังปรากฏหลักฐานที่สำคัญอยู่ เช่น กำแพงอิฐ รูปใบเสมา ฐานของตัวอาคารบริเวณกำแพง สระน้ำ ทางระบายน้ำ และซากอิฐมากมายที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของบ้านพระยาวิชิตสงคราม เจ้าเมืองภูเก็ตในอดีต

เส้นทางที่เข้าสู่สถานที่สำคัญ
การเดินทางเข้าสู่โบราณสถานบ้านเจ้าพระยาวิชิตสงครามนั้นสามารถใช้ถนนสายถลาง-ภูเก็ต อยู่ในหมู่ที่ ๓ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

การแสดงพื้นบ้านของภาคใต้

มาตรฐาน

การแสดงพื้นบ้านของภาคใต้

มโนราห์ เรียกสั้นๆว่า โนรา
เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม
บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว
มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำ และเครื่องแต่งกาย
เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ
ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย
แต่เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย

หนังตะลุง
เป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย
ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรอง ที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ “ว่าบท”
มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม
ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด

หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่ง มาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมี
ไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ
ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญ จึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ

แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิง ที่ต้องจัดหามาในราคาที่ “แพงและยุ่งยากกว่า”
เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุงมาแสดง เจ้าภาพต้องจัดทำโรงหนังเตรียมไว้ให้
และเพราะหนังตะลุงต้องใช้แรงงานคน (และฝีมือ) มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ค่าจ้างต่อคืนจึงแพงกว่า
ยุคที่การฉายภาพยนตร์เฟื่องฟู หนังตะลุงและการแสดงท้องถิ่นอื่นๆ เช่น มโนราห์ รองแง็ง ฯลฯ ก็ซบเซาลง
ยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคที่ทุกบ้านมีโทรทัศน์ ดูละคร โทรทัศน์จึงเป็นความบันเทิงราคาถูก และสะดวกสบาย
ที่มาแย่งความสนใจ ไปจากศิลปะพื้นบ้านเสียเกือบหมด

ปัจจุบันโครงการศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ได้ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุง ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง
เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า นี้ให้คงอยู่สืบไป

การแต่งกาย

มาตรฐาน

การแต่งกายของภาคใต้

ใต้ การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ี้
1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี

ลักษณะของแผนที่ภาคใต้

มาตรฐาน

ภาคใต้ประกอบไปด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฏฐานี จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส

ประเพณีของภาคใต้

มาตรฐาน

จังหวัดนครศรีธรรมราช

ช่วงเวลา
วัันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด

ความสำคัญ
เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
พิธีกรรม
๑. การแต่งนมพระ
นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า “เรือพระ” นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม
๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ
พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของพระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย
๓. การลากพระ
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
ตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย :
อี้สาระพา เฮโล เฮโล
ไอ้ไหรกลมกลม หัวนมสาวสาว
ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ สาระ
ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้
๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า “เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก” นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ